พระพุทธศาสนาสอนให้เราเป็นคนดี มีคุณธรรม นำไปสู่ความสงบ ตามหลักคำสอนของพระองค์ที่ทรงเดินแล้ว บอกชาวพุทธให้เดินตาม สอนให้คนหมดทุกข์ได้ ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ และตาย คือนิพพาน ทั้งปัจจุบัน และอนาคต พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่บังคับให้ใคร ๆ เชื่อในคำสอน ไม่ได้ใส่ใจว่าผู้ใดจะศรัทธาหรือไม่แต่อย่างใด แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยเหตุและผล และสิ่งที่พระพุทธองค์แสดงนั้นเป็นเพราะทรงเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และคำสอนที่แสดงนั้นก็ไม่ได้ให้ผู้ฟังเชื่อตาม แต่ทรงให้พิจารณาไตร่ตรองและให้พิสูจน์ว่าสิ่งที่พระองค์แสดงนั้นจริงเท็จอย่างไรด้วยตัวของผู้นั้นเอง ดังที่ได้แสดงแก่ชนทั้งหลายในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ที่บ้านกาลาม ในกาลามสูตรว่า “ควรแล้วท่านจะสงสัย ความสงสัยของท่านเกิดขึ้นแล้วในเหตุควรสงสัยจริง ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินอย่างนี้ ๆ อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น” จาก พระสูตรและอรรถกถาแปล เล่ม ๓๔ หน้า ๓๓๘.

ประสบการณ์ คือบทเรียนที่ดีต่อการเรียนรู้ ศึกษาพัฒนาของชีวิตประจำวันของชาวพุทธ

ยากอะไรไม่เท่ากับปฎิสังขรณ์ ถอนอะไรไม่เท่ากับถอนมาณะ ละอะไรไม่เท่ากับละกามคุณ บุญอะไรไม่เท่ากับบรรพชา หาอะไรไม่เท่ากับหาตน จนอะไรก็ไม่เท่ากับจนปัญญา.
“พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า " หัวใจพระพุทธศาสนา " เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่าย ๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลีคือ " โอวาทปาฎิโมกข์ "หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า" เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ " ภาษาพระ หรือ ภาษาบาลีว่า "สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ" ที่มา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความเหมือนและความแตกต่างการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ

การวิจัยเชิงคุณภาพ
1. มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม(Naturalism)
2. มุ่งทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง
3. เป็นการวิจัยที่เน้นการพรรณนา/อธิบาย (Descriptive approach)
4. ให้ความสำคัญกับกระบวนการได้มาซึ่งความจริงโดยมองแบบองค์รวม (Wholistic view)
5. ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงอุปมาน
6. มุ่งแสวงหาความรู้เพื่อสร้างเป็นกฏ/ทฤษฎี
7. สิ้นสุดการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี
8. ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

การวิจัยเชิงปริมาณ
1. มีรากฐานมาจากปรัชญาแนวคิดแบบปฏิฐานนิยม (Phenomenalism)
2.มุ่งเน้นกาความจริงที่คนทั่วไปจะยอมรับ (common reality)
3. เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์และทดลอง () ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยวิธีการทางสถิติ
4. ให้ความสำคัญกับผลที่จะได้รับมากกว่ากระบวนการการดำเนินการมีขั้นตอน ระเบียบแบบแผนที่ค่อนข้างแน่นอน
5. ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ด้วยการทดสอบคำตอบที่คาดคิดไว้ล่วงหน้า
6. เริ่มต้นการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี
7. เริ่มต้นการศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี
8. ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนของกระบวนการทำวิจัยสามารถแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่
           1. การกำหนดปัญหาการวิจัย (Problem definition) ซึ่งจะคลอบคลุมถึง ที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย และประโยชน์ที่จะได้รับ
          2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review related literature) เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีใครทำวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ไว้บ้าง ผลการวิจัยได้ข้อค้นพบอะไรบ้าง การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นอย่างไร เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ทำวิจัยมีอะไร เป็นต้น
           3. วิธีดำเนินการวิจัย (Method) เป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework) ว่าการวิจัยมีประเด็นและสาระสำคัญอะไรบ้าง และขอบเขตการวิจัยเป็นอย่างไร ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้างและนิยามอย่างไร แบบแผนการวิจัย (research design) เป็นอย่างไร การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
          4. การรายงานผลการวิจัย (Result) เป็นการแสดงผลลัพธ์จากการวิจัย แสดงผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลให้อยู่ในรูปแบบของรายงานการวิจัย
           5. การสรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion) เป็นการสรุปการดำเนินงานทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยอย่างย่อ ผลการวิจัย และอภิปรายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนข้อเสนอแนะในการประเด็นปัญหาวิจัยที่ควรได้รับการวิจัยต่อไป
            การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยโดยทั่วไป
           ปัญหาการวิจัย (Research Problem) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย จึงหมายถึง การระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัย และประสงค์ที่จะหาคำตอบ ซึ่งก็คือ ปัญหาการวิจัย นั่นเอง ฉะนั้น นักวิจัยจึงจำเป็นต้องระบุปัญหาการวิจัยให้เป็นกิจลักษณะ และชัดแจ้งทุกครั้งที่ดำเนินการวิจัย
          หลังจากกำหนดหัวข้อปัญหาในการวิจัยได้ตามความเหมาะสมแล้ว ขั้นต่อไปจะต้องกำหนดประเด็นปัญหาของการทำวิจัยในชัดเจน เป็นการตีกรอบปัญหาให้อยู่ในวงจำกัด ซึ่งการตีกรอบปัญหาให้ชัดเจนจะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยออกมาให้เด่นชัดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบวิจัยและวางแผนงานของการวิจัยในขั้นอื่น ๆ ต่อไป
              ประเด็นปัญหาในการวิจัย โดยปกติจะเป็นปัญหากว้าง ๆ ที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบ เช่น “การย้ายถิ่นของประชากรในประเทศไทย” เบื้องหลังปัญหานี้อาจมีสิ่งต่าง ๆ มากที่ผู้วิจัยอยากรู้ เช่น จำนวนผู้ย้ายถิ่น แบบแผนการย้ายถิ่นและ/หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา และความรู้ความสามารถ อาจทำให้ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาได้ทุกประเด็น นั้นเป็นหน้าที่ของผู้วิจัยที่จะต้องเสนอหรือแสดงให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจ การกำหนดประเด็นปัญหา คือวิธีการสรุปปัญหากว้าง ๆ ที่เลือกมาให้แคบงเพื่อสะดวกแก่การเข้าใจ
             การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน
         การพัฒนาชุมชนในอดีตที่ผ่านมา จะเห็นว่าการพัฒนาชุมชนหรือชนบทเป็นการพัฒนาในเชิงที่ "ชุมชนและท้องถิ่นถูกพัฒนา” รัฐบาลเป็นผู้กำหนดกรอบความคิดและวางแผนในการพัฒนาบ้านเมือง พัฒนาท้องถิ่น พัฒนาชุมชน แล้วรัฐบาลก็ไปจัดการ ไปดำเนินการผ่านกลไกของระบบราชการ ชุมชนและท้องถิ่นจึงถูกพัฒนา ซึ่งหมายถึง ถูกสั่ง ถูกบอก และร่วมพัฒนาไปด้วย กระบวนการพัฒนาเกิดขึ้นภายใต้ระบบราชการที่รัฐบาลเป็นผู้กำกับ จากข้างบนลงล่าง บทบาทของชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาจึงเป็นบทบาทรอง เป็นบทบาทที่ไม่สำคัญ บทบาทที่โดดเด่นและมีความสำคัญก็คือรัฐ โดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาชุมชน และชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนา ชุมชนร่วมพัฒนา
            ในการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยการพัฒนา ก็ต้องปรับกระบวนทัศน์ ปรับแนวคิดใหม่ จาก "ชุมชนถูกพัฒนา" ขยับเป็นขั้น "ชุมชนร่วมพัฒนา" ในกระบวนการวิจัยพัฒนาต้องให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนมากขึ้น ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิจัยด้วย เรียกว่า "ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการวิจัย"

หนังสืออ้างอิง

                         1. มนัส สุวรรณ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ . พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ , กรุงเทพฯ . 2544.
                          2. ยุทธ ไกยวรรณ์ . พื้นฐานการวิจัย (ฉบับปรับปรุงใหม่) . สุวีริยาสาส์น , กรุงเทพฯ . พิมพ์ครั้ง ที่ 4 . 2545.
                       ที่มา : มนัส  สุวรรณ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ . พิมพ์ที่ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ , กรุงเทพฯ . 2544
                      http://www.tu.ac.th/org/socadm/sw224/cd61603/assignment2/apai2.htm















1 ความคิดเห็น:

  1. ควรให้เครดิตว่าภาพนี้เอามาจากไหนนะครับ เพราะวิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นของผมและภาพถ่ายก็เป็นภาพที่ผมถ่ายเก็บไว้ก่อนส่งวิทยานิพนธ์เล่มนี้ให้แก่มหา่วิทยาลัยเพือยื่นสำเร็จการศึกษา

    ตอบลบ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...