พระพุทธศาสนาสอนให้เราเป็นคนดี มีคุณธรรม นำไปสู่ความสงบ ตามหลักคำสอนของพระองค์ที่ทรงเดินแล้ว บอกชาวพุทธให้เดินตาม สอนให้คนหมดทุกข์ได้ ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ และตาย คือนิพพาน ทั้งปัจจุบัน และอนาคต พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่บังคับให้ใคร ๆ เชื่อในคำสอน ไม่ได้ใส่ใจว่าผู้ใดจะศรัทธาหรือไม่แต่อย่างใด แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยเหตุและผล และสิ่งที่พระพุทธองค์แสดงนั้นเป็นเพราะทรงเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และคำสอนที่แสดงนั้นก็ไม่ได้ให้ผู้ฟังเชื่อตาม แต่ทรงให้พิจารณาไตร่ตรองและให้พิสูจน์ว่าสิ่งที่พระองค์แสดงนั้นจริงเท็จอย่างไรด้วยตัวของผู้นั้นเอง ดังที่ได้แสดงแก่ชนทั้งหลายในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ที่บ้านกาลาม ในกาลามสูตรว่า “ควรแล้วท่านจะสงสัย ความสงสัยของท่านเกิดขึ้นแล้วในเหตุควรสงสัยจริง ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินอย่างนี้ ๆ อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น” จาก พระสูตรและอรรถกถาแปล เล่ม ๓๔ หน้า ๓๓๘.

ประสบการณ์ คือบทเรียนที่ดีต่อการเรียนรู้ ศึกษาพัฒนาของชีวิตประจำวันของชาวพุทธ

ยากอะไรไม่เท่ากับปฎิสังขรณ์ ถอนอะไรไม่เท่ากับถอนมาณะ ละอะไรไม่เท่ากับละกามคุณ บุญอะไรไม่เท่ากับบรรพชา หาอะไรไม่เท่ากับหาตน จนอะไรก็ไม่เท่ากับจนปัญญา.
“พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า " หัวใจพระพุทธศาสนา " เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่าย ๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลีคือ " โอวาทปาฎิโมกข์ "หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า" เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ " ภาษาพระ หรือ ภาษาบาลีว่า "สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ" ที่มา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

วิธีตรวจสอบความเป็นอริยบุคคลในทางพระพุทธศาสนา

                 
                   พระอริยะบุคคล ก็คือบุคคลที่บรรลุธรรมตั้งแต่ชั้น โสดาบันเป็นต้นไป ผู้บรรลุธรรมขึ้นโสดาบันเป็นต้นไป จะสามารถขจัดอาสวะได้เป็นบางอย่าง ที่ว่าขจัดอาสวะได้เป็นบางอย่าง ก็เพราะบรรดา ความโลภ ความโกรธ ความหลง มิได้มีเพียงชนิดเดียวหรืออย่างเดียว มีนับเป็น ล้านอย่าง และในขณะที่ผู้บรรลุโสดาบันเป็นต้นไปกำลังขจัดอาสวะ ก็จะปรากฎฉัพพรรณรังสี หรือแสงหรือคลื่นแสง หรือคลื่นแห่งอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้เป็นเวลากลางวันก็ตามที
                  พระอริยบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ประเสริฐ ทางพุทธศาสนาถือว่าความเป็นพระอริยบุคคลนั้น กำหนดได้ด้วยการละสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์) ไว้ในภพใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นต่ำ เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้นใครละได้หมดก็เป็นพระอรหันต์ สังโยชน์มี ๑๐ อย่าง เทียบตามส่วนที่พระอริยบุคคลละได้เป็นลำดับดังนี้
           ๑. พระโสดาบัน ละสิ่งดังต่อไปนี้
                       ๑) สักกายทิฏฐิ - ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน
                       ๒) วิจิกิจฉา - ความสงสัยว่าพระวัตนตรัยดีจริงหรือ
                       ๓) ศีลพตปรามาส – การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เมื่อบรรลุเป็นพระโสดาบัน ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติแล้วจะบรรลุนิพพาน คือพระอรหันต์
           ๒. พระสกทาคามี ละขั้นพระโสดาบัน แต่จิตคลายจากราคะ โทสะและโมหะมากขึ้น เมื่อบรรลุเป็นพระสกทาคามี จะเกิดอีกครั้งเดียว
           ๓. พระอนาคามี ละขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และรวมอีก ๒ คือ
           ๔) กามราคะ - ความติดใจในกามารมณ์
          ๕) ปฏิฆะ – ความขัดเคืองใจ เมื่อบรรลุเป็นพระอนาคามี จะเลิกครองเรือน ประพฤติพรหมจรรย์ ตายแล้วจะไปเกิดในพรหมโลก
                        ๔. พระอรหันต์ ละขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคา พระอนาคามี และรวมอีก ๕ คือ
          ๖) รูปราคะ - ความติดใจในรูป เช่นชอบของสวยงาม
          ๗) อรูปราคะ - ติดใจในของไม่มีรูป เช่นความสรรเสริญ
          ๘) มานะ - ความยึดถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นติดในสมณศักดิ์
          ๙) อุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ไม่สงบใจ
        ๑๐) อวิชชา – ความไม่รู้อริยสัจสี่ เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ หากสิ้นชีวิตแล้วจะไม่เกิดอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...