พระพุทธศาสนาสอนให้เราเป็นคนดี มีคุณธรรม นำไปสู่ความสงบ ตามหลักคำสอนของพระองค์ที่ทรงเดินแล้ว บอกชาวพุทธให้เดินตาม สอนให้คนหมดทุกข์ได้ ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ และตาย คือนิพพาน ทั้งปัจจุบัน และอนาคต พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่บังคับให้ใคร ๆ เชื่อในคำสอน ไม่ได้ใส่ใจว่าผู้ใดจะศรัทธาหรือไม่แต่อย่างใด แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยเหตุและผล และสิ่งที่พระพุทธองค์แสดงนั้นเป็นเพราะทรงเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และคำสอนที่แสดงนั้นก็ไม่ได้ให้ผู้ฟังเชื่อตาม แต่ทรงให้พิจารณาไตร่ตรองและให้พิสูจน์ว่าสิ่งที่พระองค์แสดงนั้นจริงเท็จอย่างไรด้วยตัวของผู้นั้นเอง ดังที่ได้แสดงแก่ชนทั้งหลายในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ที่บ้านกาลาม ในกาลามสูตรว่า “ควรแล้วท่านจะสงสัย ความสงสัยของท่านเกิดขึ้นแล้วในเหตุควรสงสัยจริง ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินอย่างนี้ ๆ อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น” จาก พระสูตรและอรรถกถาแปล เล่ม ๓๔ หน้า ๓๓๘.

ประสบการณ์ คือบทเรียนที่ดีต่อการเรียนรู้ ศึกษาพัฒนาของชีวิตประจำวันของชาวพุทธ

ยากอะไรไม่เท่ากับปฎิสังขรณ์ ถอนอะไรไม่เท่ากับถอนมาณะ ละอะไรไม่เท่ากับละกามคุณ บุญอะไรไม่เท่ากับบรรพชา หาอะไรไม่เท่ากับหาตน จนอะไรก็ไม่เท่ากับจนปัญญา.
“พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า " หัวใจพระพุทธศาสนา " เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่าย ๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลีคือ " โอวาทปาฎิโมกข์ "หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า" เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ " ภาษาพระ หรือ ภาษาบาลีว่า "สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ" ที่มา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีนักสังคมวิทยา ทัลคอตต์ พาร์สันส์ Talcott Parsons’s


Talcott Parsons
           ทฤษฎีหน้าที่นิยมของทัลคอตต์ พาร์สันส์ (Talcott Parsons’s Structural Functionalism) 4 ประการ ที่จำเป็นต่อระบบต่าง ๆ คือ
                   1. Adaptation = การปรับตัว ระบบต้องจำเป็นปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ในภายนอก คือ ปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมและความต้องการของสังคม
                   2. Goal Attainment = การบรรลุเป้าหมาย ระบบจะต้องกำหนดและตอบสนองต่อเป้าหมายหลัก
                   3. Integration = บูรณาการ ระบบจะต้องกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ และจะต้องจัดการความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่พื้นฐานอื่น ๆ
                  4. Latency (Pattern Maintenance) ระบบต้องธำรงและพื้นฟู แรงจูงใจของปัจเจกบุคคลและแบบบรรยายทางวัฒนธรรมที่สร้างรักษาแรงจูงใจนั้นไว้
                 สิ่งจำเป็นพื้นฐานด้านหน้าที่ 4 ประการนี้ จะต้องเกี่ยวข้องระบบการกระทำ (Action system) 4 อย่างคือ
                  1. อินทรีย์ทางชีววิทยา (Biological Organism) ทำหน้าที่ในการปรับตัว
                  2. ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) ทำหน้าที่ในการบรรลุ

เป้าหมาย
                  3. ระบบสังคม (Social system) ดูแลเกี่ยวกับการบูรณาการ โดยควบคุมส่วนต่าง ๆ
                4. ระบบวัฒนธรรม (Cultural system) ทำหน้าที่ในการธำรงแบบแผน โดยกำหนดบรรทัดฐานและค่านิยมแก่ผู้ปฏิบัติ
                                  โครงสร้างระบบการทำหน้าที่หลัก
                                   L  ระบบวัฒนธรรม
                                   I  ระบบสังคม
                                  A  อินทรีย์แห่งพฤติกรรม 
                                  G  ระบบบุคลิกภาพ
                      ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของทัลค๊อต พาร์สัน
                      พาร์สัน เริ่มทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ด้วยความจำเป็นทางหน้าที่ 4 ประการ คือ AGIL AGIL
                    หน้าที่คือ ภารกิจที่ซับซ้อนที่มุ่งไปสูการตอบสนองต่อความต้องการ หรือสู่ความจำเป็นของระบบ พาร์สัน เชื่อว่า มีหน้าที่ ๆ จำเป็นจริงอยู่ 4 อย่างคือ
                   1. Adaptation (การปรับตัว) ระบบต้องปรับเข้ากับความจำเป็นเร่งด่วน (ฉุกเฉิน) จากภายนอนสถานการณ์ ต้องปรับเข้ากับสิ่งแวดล้อมและปรับสิ่งแวดล้อมไปสู่ความจำเป็น
                   2. Goal Attainment (การบรรลุเป้าหมาย) ระบบต้องกำหนดและบรรลุเป้าหมายเบื้องต้น
                  3.Integration (บูรณาการ) ระบบต้องสร้างระบบความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขององค์ประกอบต่าง ๆ คือ ต้องจัดความจำเป็นพื้นฐานทั้ง 3 ตัวคือ AGL ให้สอดคล้องกัน
                   4.Latency (Pattern Maintenance) การรักษาแบบแผนไว้ ระบบต้องธำรงไว้ รักษา ฟื้นฟู ทั้งการกระตุ้นปัจเจกชน และแบบแผนทางวัฒนธรรม ที่สร้างและสนับสนุนแรงจูงใจนั้นสิ่งจำเป็นพื้นฐานเหล่านี้ เชื่อมกับระบบอินทรีย์ 4 ประการ คือ
                  1.ระบบอินทรีย์ทางชีวภาพ (Biological) + ระบบการปรับตัว (Adaptation)
                  2.ระบบบุคลิกภาพ (Personality System) + การบรรลุเป้าหมาย (Goal Attainment)
                  3.ระบบทางสังคม (Social System) + บูรณาการ (Integration)
                 4.ระบบทางวัฒนธรรม (Cultural System) + การรักษาแบบแผน (The Pattern Maintenance)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...