พระพุทธศาสนาสอนให้เราเป็นคนดี มีคุณธรรม นำไปสู่ความสงบ ตามหลักคำสอนของพระองค์ที่ทรงเดินแล้ว บอกชาวพุทธให้เดินตาม สอนให้คนหมดทุกข์ได้ ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ และตาย คือนิพพาน ทั้งปัจจุบัน และอนาคต พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่บังคับให้ใคร ๆ เชื่อในคำสอน ไม่ได้ใส่ใจว่าผู้ใดจะศรัทธาหรือไม่แต่อย่างใด แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยเหตุและผล และสิ่งที่พระพุทธองค์แสดงนั้นเป็นเพราะทรงเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และคำสอนที่แสดงนั้นก็ไม่ได้ให้ผู้ฟังเชื่อตาม แต่ทรงให้พิจารณาไตร่ตรองและให้พิสูจน์ว่าสิ่งที่พระองค์แสดงนั้นจริงเท็จอย่างไรด้วยตัวของผู้นั้นเอง ดังที่ได้แสดงแก่ชนทั้งหลายในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ที่บ้านกาลาม ในกาลามสูตรว่า “ควรแล้วท่านจะสงสัย ความสงสัยของท่านเกิดขึ้นแล้วในเหตุควรสงสัยจริง ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินอย่างนี้ ๆ อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น” จาก พระสูตรและอรรถกถาแปล เล่ม ๓๔ หน้า ๓๓๘.

ประสบการณ์ คือบทเรียนที่ดีต่อการเรียนรู้ ศึกษาพัฒนาของชีวิตประจำวันของชาวพุทธ

ยากอะไรไม่เท่ากับปฎิสังขรณ์ ถอนอะไรไม่เท่ากับถอนมาณะ ละอะไรไม่เท่ากับละกามคุณ บุญอะไรไม่เท่ากับบรรพชา หาอะไรไม่เท่ากับหาตน จนอะไรก็ไม่เท่ากับจนปัญญา.
“พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า " หัวใจพระพุทธศาสนา " เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่าย ๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลีคือ " โอวาทปาฎิโมกข์ "หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า" เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ " ภาษาพระ หรือ ภาษาบาลีว่า "สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ" ที่มา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีนักสังคมวิทยา Max Weber แมกซ์ เวเบอร์

          
             Max Weber แมกซ์ เวเบอร์ : (1864-1920) แม้มาร์กและผู้สนับสนุน เขาจะมีชื่อเสียงในด้านทฤษฎีที่นำไปใช้ก็ตาม แต่มาร์กก็ไม่ได้อยู่ในกระแสหลักของสังคมวิทยาเยอรมัน ผู้ที่สร้างสังคมวิทยาในเยอรมันอย่างมั่นคง ได้แก่ แมกซ์ เวเบอร์, เวเบอร์ไม่ค่อยเห็นกับมาร์กนัก โดยกล่าวว่า มาร์กคิดแง่เดียว คือ เศรษฐกิจ โดยละทิ้งชีวิตทางสังคม เวเบอร์สนใจระบบความคิดและผลกระทบจากความคิดในด้านเศรษฐกิจ ความคิดมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะระบบความคิดทางศาสนา ผลจากศาสนาต่อสถาบันเศรษฐกิจ
                                             ความคิด ศาสนา ระบบเศรษฐกิจ
               ในจริยธรรมโปรเทสแตนท์ เวเบอร์เปรียบเทียบศาสนากับเศรษฐกิจไว้ดังนี้
System for idea of Spirit of Capitalism Capitalist Economic system
Protestant Ethics หัวใจของทุนนิยม ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
ระบบความคิดของโปรเทสแตนท์
เวเบอร์ยังมองเรื่องการแบ่งชนชั้นทางสังคม (Social Stratification) ไม่ได้แบ่งด้วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่แบ่งด้วยเกียรติ (สถานภาพ) และอำนาจ
งานของเวเบอร์โดยพื้นฐานเป็นทฤษฎีของกระบวนการสร้างเหตุผล (The Process of Rationalization) เวเบอร์สนใจว่าสถาบันในโลกตะวันตกได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมีเหตุผล (หลักการ) มากกว่าประเทศที่เหลือในโลกด้วยวิธีการอย่างนี้
             ในงานของเวเบอร์มักใช้ความมีเหตุผล (Rationality) เป็นหลักแต่สิ่งที่เน้นมากของ Weber ได้แก่การมีเหตุผลอย่างเป็นทางการ (Formal Rationality) มันเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ทำต้องเลือกซึ่งวิธีการและจุดหมายไว้ด้วยกัน การเลือกต้องใช้กฎสากล (General Applied Rules) ซึ่งมาจากโครงสร้างขนาดใหญ่จากองค์กร (bureaucracy) และระบบเศรษฐกิจ เขาศึกษาจากประวัติศาสตร์ของชาติต่าง ๆ เช่น ตะวันตก, จีน, อินเดีย เป็นต้น เขาพบปัจจัยที่ช่วยให้เกิดและยับยั้งการพัฒนาการของการสร้างความเป็นเหตุผล
           เวเบอร์ มองที่องค์กรว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างความเป็นเหตุผล เขาขยายการอธิบายไปที่สถาบันทางการเมือง เขาแบ่งอำนาจออกเป็น 3 อย่าง
         1. (Traditional) = ระบบอำนาจประเพณี
         2. (Charismatic) = ระบบบารมี
         3. (Rational – Legal) = ตามเหตุผล-กฎหมาย
         ในโลกสมัยใหม่มีแต่อำนาจที่มีแนวโน้มไปสู่ระบบเหตุผล-กฎหมายมากขึ้น แต่จะพบที่ในองค์กรที่มีการพัฒนาด้านอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนที่เหลือยังพัฒนาด้วยระบบอำนาจและบารมี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...